วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร


กล่าวถึงพระอภัยมณีอยู่กับนางผีเสื้อจนมีบุตรชาย หน้าตาเหมือนพระบิดา แต่ดวงตาดังสุรีย์ฉาย มีกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา พระบิดามีความรักใคร่เลี้ยงดูมาจนอายุได้แปดปี จึงให้ชื่อว่าสินสมุทร สอนวิชาเป่าปี่และเพลงอาวุธให้จนชำนาญ
วันหนึ่งนางผีเสื้อน้ำออกจากถ้ำไปหาภักษาหาร ฝ่ายสินสมุทซึ่งรักพ่อมากกว่าแม่ เห็นพระอภัยหลับสนิทก็หนีไปวิ่งเล่นในคูหาเห็นแผ่นผาพิงผนิดปิดหนทาง จึงเข้าลองผลักด้วยกำลัง ก็พังออก เห็นหาดทรายงาม ทะเลกว้างและป่าที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ก็ออกวิ่งเล่นและว่ายน้ำด้วยความสนุกสนาน ไปพบเงือกเข้าก็แปลกใจ เห็นเป็นครึ่งคนครึ่งปลา จับไปให้พระบิดาดู พระอภัยทราบว่าสินสมุทออกไปนอกถ้ำ ก็ตกใจบอกว่าถ้าแม่ของสินสมุทรก็จะโกรธ ด้วยเกรงว่าจะพาพระบิดาหนี จะพากันตายหมด
สินสมุทรได้ฟังจึงถามความหลังจากพระบิดา พระอภัยก็เล่าให้ฟังจนหมดสิ้น สินสมุทรรู้เรื่องแล้วก็เสียใจที่มีแม่เป็นยักษ์ร้าย
ฝ่ายเงือกน้ำฟังภาษามนุษย์รู้เรื่อง ก็ขออาสาพระอภัยที่ได้ช่วยชีวิตไว้ว่าจะใช้ตนทำอะไรก็จะรับใช้ทุกอย่าง พระอภัยเห็นว่าเงือกพูดได้และได้ฟังเรื่องแล้วก็เกิดความสงสาร แล้วบอกว่าตนต้องการหนีนางผีเสื้อ แต่ไม่รู้ว่าจะไปแห่งหนใด ขอให้เงือกผู้เจนทางกลางทะเลช่วยแนะนำด้วย เงือกน้ำจึงบอกว่า

แล้วเงือกก็บอกว่า ด้วยกำลังของตนจะพาหนีก็ต้องใช้เวลาถึงเจ็ดราตรี แต่นางผีเสื้อน้ำมีกำลัง ถ้าติดตามไปเพียงสามวันก็จะตามทัน ถ้าจะแก้ไขให้นางผีเสื้อน้ำไปอยู่ป่าล่วงหน้าก็จะค่อยยังชั่วบ้าง
พระอภัยได้ฟังความแล้วก็ค่อยคลายทุกข์ แล้วให้เงือกกับสินสมุทช่วยกันไปปิดปากถ้ำไว้อย่างเดิม อย่าให้เป็นที่สงสัยของนางผีเสื้อน้ำได้
เมื่อนางผีเสื้อกลับมายังถ้ำก็แปลงตนเป็นมนุษย์เอาผลไม้มาให้พระอภัย เมื่อค่ำลงก็พากันหลับไป ฝ่ายนางผีเสื้อเมื่อจะพรากจากลูกผัว ได้นิมิตฝันว่า เทวดาที่อยู่เกาะนั้นมาทำลายถ้ำ แล้วเอาพะเนินทุบตนจนแทบถึงชีวิต จากนั้นได้ควักเอาดวงตาไปด้วย เมื่อนางตื่นขึ้นจึงเล่าความฝันให้

พระอภัยฟัง แล้วขอให้ทำนายฝันให้ด้วย
พระอภัยได้ฟังแล้วก็เห็นว่าตนจะหนีนางผีเสื้อไปได้ แต่นางผีเสื้อจะเป็นอันตราย จึงแกล้งทำนายฝันว่าเป็นฝันร้ายนัก ต้องตำราว่าเทวดานั้นคือ มัจจุราชหมายเอาชีวิต แล้วแกล้งทำโศกเศร้าแนะนำให้นางผีเสื้อสะเดาะเคราะห์ นางผีเสื้อก็ขอคำแนะนำว่าจะให้นางสะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีการอย่างใด พระอภัยจึงบอกให้นางไปอยู่ผู้เดียวที่ตีนเขา แล้วอดข้าวอดปลาให้ครบสามวัน นางผีเสื้อ

ก็เชื่อแล้วออกไปอยู่ที่เขาใหญ่ สินสมุทสงสารแม่ พระบิดาจึงห้ามไม่ให้สินสมุทตามแม่ไป
เมื่อนางผีเสื้อไปแล้ว พระอภัยก็ให้สินสมุทรผลักแผ่นศิลาปิดปากถ้ำออกไปแล้วพากันไปที่หาดทราย ฝ่ายเงือกน้ำก็พาลูกเมียไปรอแล้วก็พาพระอภัยขึ้นบ่าพาไป ส่วนสินสมุทก็ขี่เมียเงือก บรรดาสัตว์น้ำทั้งหลายไม่กล้ากล้ำกราย ด้วยกลิ่นอายของสินสมุทคล้ายผีเสื้อผู้เป็นมารดา ส่วนลูกสาวเงือกก็ว่ายน้ำตามไปโดยไม่ยอมหยุดพัก ด้วยเกรงนางผีเสื้อจะตามมาทัน
ฝ่ายนางผีเสื้อสมุทร อดปลาอดนอนได้สามวันก็อ่อนกำลังจวนเจียนถึงชีวิต เมื่อครบกำหนดแล้วก็หาผลไม้มากิน แล้วกลับมายังถ้ำ เห็นประตูคูหาเปิดอยู่ เข้าไปดูในถ้ำไม่พบใครก็ตกใจ แลดูปี่ที่เป่าก็หายไปด้วยก็รู้ว่าพากันหนีนางไปแล้ว มีความเสียใจที่ทั้งลูกและผัวหนีจากไป แล้วก็เกิดความโกรธ ออกติดตามดูร่องรอยในมหาสมุทรก็ไม่พบ จึงเรียกโยธาหาญของตนที่เป็นปีศาจ ราชทูตภูติพรายมาซักถาม พวกผีที่อยู่ทิศทักษิณแจ้งว่า เห็นเงือกพามนุษย์ไปทางทิศใต้เมื่อคืนวานซืน ตนจะตามไปก็เกรงขามเด็กตัวเล็กแต่ไม่กลัวผี
นางผีเสื้อรู้ความแล้วก็รีบติดตามไปอย่างรีบร้อนและเหลือโกรธ ทำลายสิ่งที่กีดขวางทางไปตลอดทาง
ฝ่ายพระอภัยมณี หนียักษ์มาได้ห้าคืน เห็นทะมื่นมาข้างหลังดังสะเทือน จึงถามเงือก ฝ่ายเงือกรู้ว่าสิ่งนั้นคือ ฤทธิ์ของยักษ์จึงตอบพระอภัยไปว่า นางยักษ์กำลังตามมา คงจะทันกันในวันนี้ หนีไม่พ้น เห็นสุดจนจะม้วยลงด้วยยกันสินสมุทตอบว่า จะไม่ทิ้งพระบิดา ถ้าแม้ตามมาจะห้ามไว้ แล้วให้พระบิดารีบหนีไปก่อน
ฝ่ายนางผีเสื้อสมุทรตามมาได้สามวันก็ตามทันผัวกับลูกน้อย
ฝ่ายเงือกน้ำสิ้นกำลังที่จะพาพระอภัยหนีต่อไป จึงเรียกลูกสาวให้ช่วยพาพระอภัยหนีต่อไป
สินสมุทเห็นมารดาในร่างเดิม ไม่ใช่ร่างนิมิตที่ตนเคยเห็น ก็สงสัยออกขวางกลางน้ำ แล้วร้องถามว่าเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ ที่ตามมานั้นต้องประสงค์อะไร นางผีเสื้อน้ำได้ยินคำพูดของลูกก็ให้นึกอดสู จึงตอบไปว่าตนไม่ใช่ชาติยักษ์ เมื่ออยู่ในถ้ำไม่ได้จำแลง แต่ออกเดินทางอย่างนี้ต้องนิมิต รูปจึงผิดไปกว่าเก่าจนเป็นที่สงสัย แล้วถามพ่อไปอยู่ที่ไหน สินสมุทรได้ฟังสำเนียงก็รู้ว่าเป็นแม่ แต่ดูรูปร่างแล้วน่าสมเพช ด้วยเหตุนี้พระบิดาจึงหนี จึงแกล้งบอกว่าตนไม่เชื่อ ถ้าหากเป็นแม่จริงก็อย่าตามมา ด้วยแม่เป็นผีเสื้อ แต่พระบิดาเป็นมนุษย์จึงขอให้ปล่อยพระบิดาไป ส่วนตนนั้นจะขอลาไปเที่ยวสักหนึ่งปี ถ้าได้พบ อา ย่า ปู่ อยู่เป็นสุขแล้วก็จะชวนพระบิดามาหามารดาต่อไป
นางผีเสื้อรู้ทันสินสมุทร เมื่อเจรจาหว่านล้อมไม่เป็นผลแล้วนางจึงเข้าโจนจับสินสมุทร แต่สินสมุทรก็หลบหลีกไปได้ แล้วหนีล่อให้มารดาตามตนไปต้นทาง หมายให้ห่างพระบิดา ได้หนีไปเสียให้ไกล นางผีเสื้อหาลูกและผัวไม่พบ จึงอ่านพระเวท มองหาพระอภัย เมื่อเห็นแล้วก็ติดตามไปปพบเงือกยายตา ที่อ่อนกำลังว่ายน้ำอยู่จึงเข้าไปจับแล้วซักถาม สองเงือกก็หลอกนางผีเสื้อว่า พระอภัยอยู่บนเขาขวางริมทางที่ผ่านมา ตนจะพาไปจับตัว ถ้าไม่เหมือนคำที่สัญญา ก็ขอให้ฆ่าตนทั้งสองเสียนางผีเสื้อก็เชื่อ เงือกพานางผีเสื้อมาได้ครึ่งวันแล้วก็พูดล่อให้ต่อไป แต่นางผีเสื้อรู้ทันจึงว่าสองเงือกตอแหล จึงหักขาฉีกสองแขน แล้วเคี้ยวกินเงือกทั้งสองนั้นเสีย จากนั้นก็ออกติดตามพระอภัยต่อไป

นางเงือกพาพระอภัยมาถึงเกาะแก้วพิสดารพร้อมกับสินสมุทรพระอภัยหนีผีเสื้อสมุทรมาถึงฝั่งผีเสื้อตามมาทัน แต่พระโยคีช่วยไว้ได้นางผีเสื้อพยายามอ้อนวอนให้พระอภัยและสินสมุทรไปหา บอกว่าจะให้มนต์เวทวิเศษ สินสมุทรสงสารแม่แล้วบอกว่าฝ่ายพระโยคีก็พูดจาปลอบโยนและให้โอวาทนางผีเสื้อ แต่นางผีเสื้อไม่ฟัง และโกรธต่อว่าพระโยคีด้วยประการต่าง ๆ จนพระโยคีโกรธเสกทรายขว้างไป นางผีเสื้อกลัวจึงหลบออกไป

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

      ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีใจความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง

ใครทำอะไร

ที่ไหน

อย่างไร

ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
๒. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว
มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

ฝนตก

ฝน

ตก

ประโยคที่กริยา

ไม่ต้องมีกรรมมารับ

น้ำไหล

น้ำ

ไหล

ไฟดับ

ไฟ

ดับ

แดดออก

แดด

ออก

ลมพัด

ลม

พัด

ฟ้าร้อง

ฟ้า

ร้อง

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

นักเรียนทำการบ้าน

นักเรียน

ทำการบ้าน

ทำ = กริยา
การบ้าน = กรรม

ฉันกินผลไม้

ฉัน

กินผลไม้

กิน = กริยา
ผลไม้ = กรรม

พี่ตีงู

พี่

ตีงู

ตี = กริยา
งู = กรรม

สุนัขกัดไกู่

สุนัข

กัดไก่

กัด = กริยา
ไกู่ = กรรม

หมายเหตุ - กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

หมายเหตุ

คุณพ่อเป็นตำรวจ

คุณพ่อ

เป็นตำรวจ

เป็น = กริยา
ตำรวจ = ส่วนเติมเต็ม

หมายเหตุ - "เป็น" เป็นกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ประโยค
ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว
ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค
เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา

ฉันอ่านหนังสือ

น้องเล่นตุ๊กตา

แต่

ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน
และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที

ฉันทำการบ้านเสร็จ

ฉันไปดูโทรทัศน์

พอ...ก็

๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน

สุมาลีเรียนยุวกาชาด

จินดาเรียนยุวกาชาด

และ

๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วใหญ่จะมีสันธาน
แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย

ฉันรักเขามาก

เขากลับไม่รักฉันเลย

แต่ทว่า


๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี
กริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน
หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น


ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ

แก้วไปช่วยแม่ยกของ

ก้อยไปช่วยแม่ยกของ

หรือไม่ก็

๒.๔ ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน
จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว

สันธาน

เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย

เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)

ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)

เพราะ...จึง

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
ประโยคผลเสมอ


ข้อสังเกต ประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก(มุขยประโยค)
และประโยคย่อย(อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม(ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน)
ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(อนุประโยค)

ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย

ฉันรักเพื่อน

ที่มีนิสัยเรียบร้อย

ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส

พ่อแม่ทำงานหนัก

ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)

เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที

เขาบอก

ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)

ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ
บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต

นายกรัฐมนตรีพูด

เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)

ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด

พี่สาวทำ้.....

น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)

ให้

ภาพยนต์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส

ภาพยนต์เรื่องนี้สอน

ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)

ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์

.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร

รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)

ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนาม
หรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้
ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง

บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง

ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)

ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย

ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน

ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)

ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง

คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง

ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)

๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน
เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ
เช่น

ประโยคความซ้อน

ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)

ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)

ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน

นักเรียนถูกลงโทษ

ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน

-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

หล่อนไปทำงาน

ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง

ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ


ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค




#เนื้อหาบทความนี้จัดทำขึ้นเพือการศึกษาหากท่านใดพบเห็นข้อความหรือรูปภาพใดใดอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับมายังผู้จัดทำโดยเร็วที่สุด#

เห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่อง"เห็นแก่ลูก" นี้สามารถชมบทเรียนในรูปแบบวิดีโอเสมือนอยู่ในชั้นเรียน แต่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และต้องขอขอบคุณ TRUE


ยังไม่จบ ดูเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่


อิศรญาณภาษิต



บทที่ ๑

อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร

เทศนาคำไทยให้เป็นทาน โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี

คำศัพท์ ตำนาน หมายถึง คำโบราณ

ศุภอรรถ หมายถึง ถ้อยคำและความหมายที่ดี

สวัสดี หมายถึง ความดี ความงาม

ถอดความได้ว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้ทรงเชี่ยวชาญในเชิงกลอนทรงนิพนธ์คำกลอนสุภาษิตโบราณ สั่งสอน

เตือนใจไว้เพื่อเป็นทาน

บทที่ ๒

สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี

ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย

คำศัพท์ เจือ หมายถึง เอาส่วนที่มีน้อยไปประสมลงไปในส่วนมาก

จริต หมายถึง กิริยาอาการ หรือแสดงความประพฤติ

โมห์ หมายถึง ความลุ่มหลง

ซากผี หมายถึง ร่างกายของคนที่ตายแล้ว

อาชาไนย หมายถึง กำเนิดดี พันธุ์ หรือตระกูลดี ฝึกหัดมาดีแล้ว

ม้ามโนมัย หมายถึง ในบทนี้หมายถึงใจที่รู้เท่าทันกิเลสจะได้เป็นพาหนะไปสู่ความสำเร็จ

ถอดความได้ว่า สำหรับคนที่โง่เขลาเบาปัญญาที่ไปลุ่มหลงในความชั่วต้องฝึกใจให้รู้เท่าทันกิเลส คือ เอาใจเป็น

นายบังคับใจตัวเองให้อยู่เหนือกิเลส เพื่อจะ ได้เป็นพาหนะไปสู่ความสุข

บทที่ ๓

ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย

เราก็จิตดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ

คำศัพท์ อัชฌาสัย หมายถึง กิริยาดี นิสัยใจคอ ความรู้จักผ่อนปรน

ถอดความได้ว่า ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นต่างกันดังข้าวเปลือกกับข้าวสาร(โบราณเขาเปรียบเทียบว่า ผู้ชายเปรียบเสมือo

ข้าวเปลือกตกที่ไหนก็เจริญงอกงามที่นั่น ส่วน ผู้หญิงก็เปรียบเสมือนข้าวสาร ตกที่ไหนมันไม่

สามารถเจริญงอกงามได้ข้าวสาร ก็เน่า แต่เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็น

ธรรมดา เราก็มีมิตรจิตเขาก็มีมิตรใจฉะนั้นเรารักกันดีกว่าเกลียดกัน

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสาร , น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า , รักกันดีกว่าชังกัน , มิตรจิตรมิตรใจ

บทที่ ๔

ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ

สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย

คำศัพท์ ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ หมายถึง อย่าก่อเรื่อง

ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ หมายถึง ผู้ที่ทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธหรือตัดรอนจนแตกหัก

สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล หมายถึง ทำดีสิบหนไม่เท่ากับทำชั่วเพียงครึ่งหนความดีก็จะหมดไป

ถอดความได้ว่า ผู้ใดทำดีต่อเราเราก็ควรทำดีต่อเขาตอบ ผู้ใดที่ทำไม่ดีต่อเราหรือทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธหรือตัดรอน จนแตกหัก ทำความดีสิบครั้ง ก็ไม่เท่าทำความชั่วครึ่งครั้ง คือ ความชั่วจะทำลายความดีลงจนหมดสิ้น เป็นชายนั้น ไม่ควรดูถูกชายด้วยกัน

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง

คนล้มอย่าข้าม หมายถึง คนที่ตกต่ำไม่ควรลบหลู่ดูถูก เพราะอาจจะกลับาเฟื่องฟูได้อีก

บทที่ ๕

รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย

มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย แหงนดูฟ้าอย่าให้อายเทวดา

คำศัพท์ เยิ่น หมายถึง ยาวนานออกไป

ถอดความได้ว่า รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ก็จงทำสิ่งไม่ดีต่อไป แต่ถ้าเราจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ จงทำความดี อย่าทำในสิ่ง

ที่ผิด กฎหมายหรือทำชั่ว ทุกคนต้องตาย ด้วยกันทั้งนั้น จงทำความดีไว้เถิด เวลาที่แหงนดูฟ้าจะได้ไม่อายเทวดา

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง

รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ หมายถึง รักที่จะมีมิตรไมตรีต่อกันต้องตัดสิ่งที่ไม่ดีออก อย่าไปพูดถึง แต่ถ้า จะคบกันในเวลาสั้น ๆ ให้พูดต่อปากต่อคำ ในที่นี้ต้องการเฉพาะส่วนแรกคือตัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ..เป็นสำนวนเก่าที่ประกอบด้วยคำชวนให้สงสัย คือคำที่มีความหมายขัดกันอยู่ ด้วยวรรคแรกสื่อความหมายว่า ชอบทางยาวแต่ให้บั่น คือตัดหรือทอนออกเสีย วรรคหลังบ่งว่า ชอบทางสั้น แต่กลับ ให้ต่อคือเพิ่มออกไป การเรียบเรียงข้อความโดยใช้คำที่มีความหมายขัดกันนั้น ในทางภาษาถือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ประโยคมีน้ำหนัก ช่วยให้เกิดรสสะดุดใจน่าฟัง

รักยาว คือต้องการให้เรื่องเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ติดขัด ไม่สะดุดจะเป็นการดำเนินธุรกิจ การคบเพื่อน การปฏิบัติงาน หรือเรื่องอะไรก็ตาม

ให้บั่น คือให้ตัดหรือทอนส่วนที่ขัดข้อง ความกินแหนงแคลงใจเรื่อเล็กน้อยนั้นเสีย ไม่ต้องถือ เป็นอารมณ์

รักสั้น คือต้องการให้เรื่องสิ้นสุดแค่นั้น แตกหักหรือดำเนินต่อไม่ได้

ให้ต่อ คือให้ต่อความยาวสาวความยืดต่อไป ให้นำมาพิจารณาให้ถกเถียง ให้ถือเอา ให้ว่ากันต่อไป หากรักจะคบกันต่อไป ก็ให้ตัดเรื่องราวนั้นเสีย โดยไม่ถือโทษโกรธเคืองไม่โต้เถียงเป็นต้น ลักษณะนี้คือ รักยาวให้บั่น แต่หากรักทางสั้น ไม่ต้องการคบกันอีก ต้องการให้แตกหักกันเลยก็ให้ต่อเรื่องออกไป ลักษณะนี้คือ รักสั้นให้ต่อ

บทที่ ๖

อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย น้ำตาลย้อยหยดเท่าไรได้หนักหนา

อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน

คำศัพท์ อย่านอนเปล่า หมายถึง อย่าเข้านอนเฉยๆ ในที่นี้หมายถึงให้คิดการกระทำของตน

น้ำตาลย้อยหยดเท่าไรได้หนักหนา หมายถึง การสะสมความดีทีละน้อย

ถอดความได้ว่า อย่าดูถูกความดีหรือความชั่ว ว่าทำเพียงเล็กน้อยเพราะมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ และมากขึ้นทุกที

เวลาก่อนจะนอนให้ส่องกระจกดูหน้าตนเอง ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เหมือนเป็นการให้สำรวจจิตใจตนเอง

อยู่เป็นนิจ ว่าคิดใฝ่ดีอยู่หรือเปล่า เพื่อจะได้เตือนตนไว้ได้ทัน (เป็นการเตือนให้เรารู้จักคิด พิจารณา สำรวจตัวเองทุกๆวัน)

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง จงเตือนตนด้วยตนเอง

บทที่ ๗

เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่ พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน

เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน ตรองเสียก่อนแล้วจึงทำกรรมทั้งมวล

คำศัพท์ ปากบอน หมายถึง นำความลับหรือเรื่องที่ไม่ควรพูดไปบอกผู้อื่น

ทึ้ง หมายถึง ดึง ถอน

ถอดความได้ว่า เห็นสิ่งใดกีดขวางทางอยู่ จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะเก็บ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และเมื่อ

ไป เห็นการกระทำของใคร อย่าเที่ยวทำปากบอนไปบอกแก่คนอื่น อาจนำผลร้ายมาสู่ตนเองได้

(สอนว่า ให้รู้จักคิดใคร่ครวญ ไตรตรองก่อนจะพูดหรือทำสิ่งใด )

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง คิดก่อนพูด แต่อย่าพูดก่อนคิด

บทที่ ๘

ค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้า ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน

เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ

คำศัพท์ ผู้ไปหน้า หมายถึง คนที่เกิดก่อนย่อมมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า

หุนหวน หมายถึง หวน เวียนกลับ

คิดคำนวณ หมายถึง คิดไตร่ตรอง

หลังตากแดด หมายถึง ก้มหน้าก้มตาทำงานหนักอย่างชาวนา ทำให้หลังถูกแดด

เมื่อปลายมือ หมายถึง ในภายหลัง

ถอดความได้ว่า ให้ประพฤติปฏิบัติตนตามผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดก่อน ย่อมมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า และอย่าเป็นคนอกตัญญู จงมีความขยันหมั่นเพียรทำงานอยู่เสมอแล้วจะมีความสุขสบายในภายหลัง

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง

เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย

หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หมายถึง ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึงชาวไร่ชาวนาซึ่งใน

เวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้องก้มลงดิน

บทที่ ๙

เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ

ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร

คำศัพท์ หารือ หมายถึง ขอความเห็น ปรึกษา

ให้เขาลือว่าชายนี้ขายเพชร หมายถึง ให้เขาลือว่าตนเองมีปัญญามากพอที่จะอวดได้

ถอดความได้ว่า เพชรเป็นของที่มีค่ามีราคา อย่านำสิ่งที่มีค่าไปให้แก่ผู้ไม่รู้ค่าย่อมไร้ประโยชน์ ฉะนั้นควรไป

ปรึกษาหารือ กับนักปราชญ์ หรือผู้รู้ เท่านั้น เพื่อให้คนเขาร่ำลือว่า ตนเองมีปัญญาราวกับมีเพชร

มากพอที่จะอวดได้

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ยื่นแก้วให้วานร หมายถึง เอาของมีค่าให้กับผูที่ไมรูคุณค่าของ ของสิ่งนั้น

ลิงได้แก้ว หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่ มีความหมายเดียวกับ คำ

ว่า ไก่ได้พลอย และ หัวล้านได้หวี

บทที่ ๑๐

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า ใครใดเล่าจะไม่งามตามเสด็จ

จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ พริกไทยเม็ดนิดเดียวเดี๋ยวก็ร้อน

คำศัพท์ เจ้า หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน หรือผู้เป็นใหญ่

ถอดความได้ว่า ของสิ่งใดก็ตามที่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นสิ่งดีหรือสิ่งที่สวยงาม เราก็ต้องว่างามตามไปด้วย ไม่ว่าจะ จริงหรือไม่จริง เราไม่ควรไปคัดค้านเพราะท่าน เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดอาจกริ้วได้

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง เห็นดีเห็นงาม หมายถึง คิดหรือรู้สึกคล้อยตาม

ลูกขุนพลอยพยัก หมายถึง ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น

น้ำท่วมปาก หมายถึง พูดไม่ออกเพราะอาจจะมีภัยแก่ตนเองและผู้อื่น

บทที่ ๑๑

เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน

อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

คำศัพท์ ห่อน หมายถึง ไม่ ไม่เคย

มอ หมายถึง สีมัว ๆ อย่างสีดำเจือเทา

วัวมอ หมายถึง วัวตัวผู้

ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ หมายถึง ไม่มีใครว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นเขาใช้งาน

ถอดความได้ว่า เกิดเป็นคนต้องรู้เท่าทันใจของตนเอง คือต้องสอนใจตนเองหรือเตือนตนเองได้ และถ้าจะขอความช่วยเหลือจากผู้ใด เราต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง จงเตือนตนด้วยตนเอง

บทที่ ๑๒

เป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอก คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหมอ

อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน

คำศัพท์ บ้าจี้ หมายถึง บ้ายอ

โหยกเหยก หมายถึง ไม่อยู่กับร่องรอย ไม่แน่นอน

ถอดความได้ว่า คนบ้ายอชอบให้คนเขานิยมยกย่องเปรียบเหมือนคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งแก้ไขได้ยาก อันว่า

ยศ หรือตำแหน่ง นั้น มันไม่ใช่เหล้าจงเมาแต่พอควร อย่าไป ยึดติด หลงยศหลงตำแหน่ง คำป้อยอ

ต่าง ๆ นั้น ถ้าเรา หลงเชื่อ อาจทำให้เราเดือดร้อนได้

บทที่ ๑๓

บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน

ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก

คำศัพท์ ทำเป็นเจ้า หมายถึง ทำทีว่าถูกเจ้าเข้าสิง

ถอดความได้ว่า บางคนทำทีว่าถูกผีเข้าสิง คือพวกทรงเจ้าเข้าผี ทำไมไม่มีใครจับ ดูไปก็น่าหัวเราะถ้าเป็นผีจริงมัน

หลอกก็ช่างมันเถิด แต่นี่คนมาหลอกกันเองมันน่ากลัวที่สุด ฉะนั้นจึงควรแยกแยะให้ดี อย่าเชื่อใน

สิ่งที่ตาไม่เห็น เพราะทีเห็นนั้นอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง ผีหลอกก็ยังพอทน แต่คนหลอกคนมันช้ำใจจนหลายเท่า ดู"กาลามสูตร"

บทที่ ๑๔

สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม จะเรียนคมเรียนไปเถิดอย่าเปิดฝัก

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

คำศัพท์ สำนวน คนสามขา หมายถึง คนแก่ที่ถือไม้เท้า

เรียนคม หมายถึง เรียนเพื่อหาวิชาความรู้

อย่าเปิดฝัก หมายถึง อย่าโอ้อวด

ถอดความได้ว่า จะสร้างสิ่งใดให้สูงก็อย่าสร้างเกินว่าฐานที่จะรับน้ำหนักไว้ได้ เพราะจะทำให้ล้มง่าย

(สอนให้รู้จักประมาณ ตน ไม่ให้ทำอะไรเกินฐานะของตนเอง) จะเรียนวิชาอะไรให้มีสติปัญญา

เฉียบแหลม ก็เรียนเถิด แต่ให้เก็บความรู้ไว้ใช้เมื่อถึงเวลาอันสมควร (สอนให้เป็นคนใฝ่รู้แต่อย่า

อวดรู้) คนแก่มีประสบการณ์มากเราควรเชื่อฟังคำทักท้วง (สอนให้เห็นความสำคัญของผู้มีอาวุโส)

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง คมในฝัก หมายถึง คนที่เขาฉลาดจริงๆ เขาไม่โอ้อวด

บทที่ ๑๕

เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา

ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญพาลนักเลง

คำศัพท์ นักเลงเก่า หายถึง ผู้ที่เป็นนักเลง

ถอดความได้ว่า ประพฤติตนตามแนวทางที่ผู้ใหญ่เคยทำมาก่อนแล้วย่อมปลอดภัย ไม่ควรไปพูดขัดคอคน เพราะ

จะทำ ให้เขาโกรธไม่พอใจ ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา นักเลงเก่าเขาไม่รังแกหรือทำร้ายนักเลงด้วยกัน

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย

รู้ยาวรู้สั้น หมายถึง รู้จักผ่อนปรน รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว

บทที่ ๑๖

เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ไร้ผัว ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง

ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง ทำอวดเบ่งกับขื่อคาว่ากระไร

คำศัพท์ ทำเป็นเลียบ หมายถึง พูดจาแทะโลม

คนที่จนเอง หมายถึง คนที่ทำตัวให้จนเอง

ขื่อคา หมายถึง เครื่องจองจำนักโทษ ทำด้วยไม้ มีช่องสำหรับสอดมือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกัน

ขื่อหลุด

ถอดความได้ว่า ผู้ที่เป็นหญิงหม้ายมักถูกผู้ชายพูดจาแทะโลม เหมือนกับถูกข่มเหง คนที่จนเพราะถูกไฟไหม้ ยังน่า

สงสาร หรือดีกว่าตนเองที่ทำตัวเองให้จน (จนเพราะเล่นการพนัน) และอย่าอวดเก่งกับขื่อคาที่เป็น

เครื่องจองจำ (อย่า แสดงอำนาจโอ้อวดทำสิ่งที่ท้าทายกับบทลงโทษ)

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง เล่นกับคุกกับตาราง

บทที่ ๑๗

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักย่อยเข้าเสายังไหว

จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ

คำศัพท์ ฟังหูไว้หู หมายถึง รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด

เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ หมายถึง เป็นคนหนักแน่นไม่ฟังคำยุแหย่

ถอดความได้ว่า แม้จะมั่นคงดังเสาหินใหญ่สูงแปดศอก แต่เมื่อถูกผลักบ่อย ๆ เข้า เสานั้นก็อาจคลอนแคลนได้

เปรียบ เหมือนใจคนย่อมอ่อนไหวไปตามคำพูด ของผู้อื่นได้ ฉะนั้น จึงควรฟังหูไว้หู และคิดให้

รอบคอบก่อนที่จะเชื่อใคร (สอนให้มีใจคอหนักแน่นไม่หลงเชื่อยุยงโดยง่าย ให้รู้จักไตร่ตรองให้ดี

เสียก่อนที่ จะคล้อยตามคำพูดของผู้อื่น)

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ฟังหูไว้หู หมายถึง รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด

บทที่ ๑๘

หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้ มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ

ที่ปิดที่ชิดไขให้ทะลุ คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก

คำศัพท์ ไพล่พลิ้วพลิก หมายถึง ให้รู้จักหลีกเลี่ยง พูดตรงทำให้เสียน้ำใจ

หลิ่ว หมายถึง เดี่ยว หนึ่ง

ถอดความได้ว่า เมื่อเวลาจะใช้ใครให้รู้จักพูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่อ่อนหวาน ซึ่งใคร ๆ ก็ชอบ ไม่ควรใช้คำดุด่าว่า

กล่าว สิ่งใดที่ปล่อยปละละเลย หรือฟุ่มเฟือยก็ต้องเข้มงวดกวดขันหรือประหยัดถี่ถ้วนขึ้นสิ่งใดที่

เข้มงวดตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินไป จะต้องแก้ไขทำให้สะดวก หรือคล่องตัวขึ้น และจงประพฤติตน

ตาม ที่คนส่วนใหญ่เขาประพฤติกัน

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย

บทที่ ๑๙

เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก

เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ

คำศัพท์ เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ หมายถึง มีความอดทนต่อความยากลำบาก

ถอดความได้ว่า จงดูปลาหมอไว้เป็นครูสอนใจเรา แม้ปลาหมอจะถูกปล่อยไว้บนบก มันก็ยังกระเสือกกระสนเพื่อ

จะเอา ชีวิตรอด ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรพ่ายแพ้แก่อุปสรรค ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อสู้ชีวิตต่อไป

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ฆ่าควายเสียดายพริก หมายถึง ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่

ปลาหมอแตกเหงือก หมายถึง กระเสือกกระสนดิ้นรน

บทที่ ๒๐

มิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ แต่หนามคำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ

อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ เมียรู้เก็บผัวรู้กำพาจำเริญ

คำศัพท์ เนื้อ(ในที่นี้) หมายถึง เนื้อคู่

ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ความใคร่ในกาม

ถอดความได้ว่า คนเราถ้าไม่ใช่เนื้อคู่กัน อยู่ไปก็เปล่าประโยชน์อาจจะมีเรื่องราวกัน ไม่ผิดอะไรกับถูกหนามตำเข้า

นิดเดียว ก็เกิดอาการเจ็บปวด ความโลภเป็นบาปทำให้เกิดความอยาก สามีภรรยาคู่ใดถ้าภรรยา

รู้จักออมรู้จักเก็บ สามี รู้จักทำหากินก็จะทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ผัวหาบเมียคอน ชายหาบหญิงคอน

บทที่ ๒๑

ถึงรู้จริงจำไว้อย่าไขรู้ เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ

ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย

คำศัพท์ ก้ำเกิน หมายถึง ล่วงเกิน เกินเลย

ก้ำเกินหน้า หมายถึง เด่นกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น

ถอดความได้ว่า แม้ว่าเราจะรู้จริง เราก็ไม่ต้องอวดว่าเรารู้ เดี๋ยวเขาก็จะสรรเสริญเอง ไม่ควรทำอะไรเกินหน้าเกินตา

คนอื่น เพราะคนเกลียดเรามีมากกว่าคนรักเรา

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง เกินหน้าเกินตา , คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ , คนชังมีนัก คนรักมีน้อย

บทที่ ๒๒

วาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายาก ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย

ผีเรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย พูดพล่อย ๆ ไม่ดีปากขี้ริ้ว

คำศัพท์ ผีเรือน หมายถึง ผีที่อยู่ประจำเรือน

พูดพล่อย ๆ หมายถึง อาการที่พูดง่าย ๆ โดยไม่ตริตรอง

ปากขี้ริ้ว หมายถึง คำพูดที่ไม่สุภาพ

ถอดความได้ว่า ถ้าไม่มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอเขา ไปโต้เถียงกับเขาก็ไม่มีประโยชน์เพราะไม่มีใครเชื่อ คนในบ้าน

นั่นแหละเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้า มาทำความเสียหาย การพูดพล่อย ๆ โดยไม่คิดเป็นสิ่งที่ไม่

ควรทำ

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย , ปลาหมอตายเพราะปาก

บทที่ ๒๓

แต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว

ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง

คำศัพท์ แขวะ หมายถึง เอาของมีคมแขวะคว้านให้กว้าง

แหยะแหยะ หมายถึง ช้า ๆ

ตะบัน หมายถึง ทิ่ม หรือแทง หรือกดลงไป

แรง หมายถึง มีกำลัง

หิว หมายถึง อ่อนแรง หมดแรง

ถอดความได้ว่า แม้ไม้ไผ่อันหนึ่งตัน กับอีกอันหนึ่งผ่าครึ่งออก เมื่อนำมาสีกันเบา ๆ อาจเกิดควันได้ ฉะนั้นจง

อย่าได้ ประมาทการกระทำที่ดูเหมือนจะไม่ เป็นพิษเป็นภัย ช้างเป็นสัตว์ที่มีพลังเมื่อมันถีบเรา

รับรองว่ากระเด็นแน่นอน ฉะนั้นหากจะสู้กับช้างก็ควรประเมินกำลังของเราเสียก่อนว่าอยู่ใน

ภาวะใดมีกำลัง หรือ อ่อนแรง จะเตรียมสู้ หรือหนี ดูให้เหมาะแก่สถานการณ์

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ไม้ซีกงัดไม้ซุง

บทที่ ๒๔

ล้องูเห่าก็ได้ใจกล้ากล้า แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง

ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ

คำศัพท์ ยักเยื้อง หมายถึง เลี่ยงไป ไม่ตรงไปตรงมา

ถอดความได้ว่า การล้อเล่นกับงูเห่าซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอันตรายมาก ทำได้ แต่ต้องเป็นคนใจกล้า แต่อย่าไปเข้าข้างหาง

เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และต้องทำด้วยความว่องไวอย่างเด็ดขาดทันที จึงจะไม่ตกอยู่ในฐานะที่

เพลี่ยงพล้ำ

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง จับงูข้างหาง คือ ทําสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย

บทที่ ๒๕

ถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้ ถ้าแม้ให้ทุกคนกลัวคนขอ

พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ จนแล้วหนอเหมือนเปรตด้วยเหตุจน

คำศัพท์ ปิดปกเป็นกกกอ หมายถึง โอบอุ้มทะนุถนอมไว้

เปรต หมายถึง อมนุษย์จำพวกหนึ่ง

ถอดความได้ว่า การจะขออะไรกับเพื่อนฝูงที่ชอบพอกันก็สามารถขอกันได้ แต่จะให้ทุกคนที่ขอคงไม่ได้พ่อแม่

เลี้ยงดู ทะนุถนอมมาเป็นอย่างดี ถ้าหากเป็นคนจนก็จะเหมือนเปรตที่เที่ยวขอส่วนบุญ

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง เปรตขอส่วนบุญ , ตนเป็นที่พึ่งของตน . พึ่งลำแข้งตัวเอง

บทที่ ๒๖

ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้ ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล

บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน

คำศัพท์ ปุถุชน หมายถึง สามัญชน คนที่ยังมีกิเลส

ถอดความได้ว่า ถึงมีบุญวาสนา ไม่ทำการงานใด ๆ ก็ไม่ดีต้องเป็นผู้ที่คิดดี ทำดีบุญจึงส่งผล เมื่อหมดบุญลงแล้ว

อย่า ทะนงตนว่าเป็นผู้มีบุญบารมี ขอให้คนเราคิดว่าความรักความชังนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนเท่า

การทำความดี

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ทำดีได้ดี


-----------------------------
#เนื้อหาบทความนี้จัดทำขึ้นเพือการศึกษาหากท่านใดพบเห็นข้อความหรือรูปภาพใดใดอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับมายังผู้จัดทำโดยเร็วที่สุด#