ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีใจความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง
ใครทำอะไร | ที่ไหน | อย่างไร |
ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
๒. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว
มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น
ประโยค | ภาคประธาน | ภาคแสดง | หมายเหตุ |
ฝนตก | ฝน | ตก | ประโยคที่กริยา ไม่ต้องมีกรรมมารับ
|
น้ำไหล | น้ำ | ไหล | |
ไฟดับ | ไฟ | ดับ | |
แดดออก | แดด | ออก | |
ลมพัด | ลม | พัด | |
ฟ้าร้อง | ฟ้า | ร้อง |
ประโยค | ภาคประธาน | ภาคแสดง | หมายเหตุ |
นักเรียนทำการบ้าน | นักเรียน | ทำการบ้าน | ทำ = กริยา |
ฉันกินผลไม้ | ฉัน | กินผลไม้ | กิน = กริยา |
พี่ตีงู | พี่ | ตีงู | ตี = กริยา |
สุนัขกัดไกู่ | สุนัข | กัดไก่ | กัด = กริยา |
หมายเหตุ - กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ
ประโยค | ภาคประธาน | ภาคแสดง | หมายเหตุ |
คุณพ่อเป็นตำรวจ | คุณพ่อ | เป็นตำรวจ | เป็น = กริยา |
หมายเหตุ - "เป็น" เป็นกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์
ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว |
๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ประโยค
ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว
ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค
เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
ฉันอ่านหนังสือแต่ | ฉันอ่านหนังสือ | น้องเล่นตุ๊กตา | แต่ |
ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้
๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที | ฉันทำการบ้านเสร็จ | ฉันไปดูโทรทัศน์ | พอ...ก็ |
๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
สุมาลีและจินดาเรียน | สุมาลีเรียนยุวกาชาด | จินดาเรียนยุวกาชาด | และ |
๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
ฉันรักเขามากแต่ทว่า | ฉันรักเขามาก | เขากลับไม่รักฉันเลย | แต่ทว่า |
๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี
กริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ | แก้วไปช่วยแม่ยกของ | ก้อยไปช่วยแม่ยกของ | หรือไม่ก็ |
๒.๔ ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคความรวม | ประโยคความเดียว | ประโยคความเดียว | สันธาน |
เพราะเธอเป็นคนเห็น | เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว | ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย | เพราะ...จึง |
ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน |
ข้อสังเกต ประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค |
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก(มุขยประโยค)
และประโยคย่อย(อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม(ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน)
ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม
ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ประโยคความซ้อน | ประโยคหลัก | ประโยคย่อย | ตัวเชื่อม |
ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย | ฉันรักเพื่อน | ที่มีนิสัยเรียบร้อย | ที่ |
พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ | พ่อแม่ทำงานหนัก | ลูกจะมีอนาคตสดใส | เพื่อ(ขยายวิเศษณ์ |
เขาบอกให้ | เขาบอก | ฉันลุกขึ้นยืนทันที | ให้ |
ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ
บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ประโยคความซ้อน | ประโยคหลัก | ประโยคย่อย | ตัวเชื่อม |
นายกรัฐมนตรีพูดว่า | นายกรัฐมนตรีพูด | เยาวชนไทยต้องมี | ว่า |
พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด | พี่สาวทำ้..... | น้องชายเลิกเล่นเกม | ให้ |
ภาพยนต์เรื่องนี้สอนว่า | ภาพยนต์เรื่องนี้สอน | ทุกคนควรช่วยเหลือ | ว่า |
รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น | .....เป็นเกียรติแก่ | รัฐสภาจัดงานใหญ่ | ว่า |
๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนาม
หรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้
ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคความซ้อน | ประโยคหลัก | ประโยคย่อย | ตัวเชื่อม |
บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา | บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง | ที่อยู่บนภูเขา | ที่ |
ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน | ครูทุกคนไม่ชอบ | ที่แต่งตัวไม่สุภาพ | ที่ |
คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น | คนเป็นน้องสาวของ | ซึ่งไปรับรางวัล |
|
๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ
เช่น
ประโยคความซ้อน | ประโยคหลัก | ประโยคย่อย | ตัวเชื่อม |
นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน | นักเรียนถูกลงโทษ | ไม่ให้ออกนอกบริเวณ | - |
หล่อนไปทำงานตั้งแต่ | หล่อนไปทำงาน | ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ | ตั้งแต่ |
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ |
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น